โฉนดที่ดินบอกอะไรเราได้บ้าง มีวิธีดูอย่างไร?

โฉนดที่ดินบอกอะไรเราได้บ้าง มีวิธีดูอย่างไร?

ที่ดินถือเป็นสินทรัพย์อันมีค่า เมื่อต้องทำธุรกรรมเกี่ยวกับที่ดินเช่น การจำนำหรือจดจำนอง สิ่งที่จะขาดไม่ได้เลยก็คือ “โฉนดที่ดิน” ซึ่งโฉนดที่ดินคือ เอกสารสิทธิ์ที่ใช้แสดงความเป็นเจ้าของที่ดิน โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้ง ขอบเขตและลักษณะของที่ดิน รูปแผนที่ของที่ดิน ขนาดหน้ากว้างที่ดิน นิติกรรมต่างๆ ที่เคยจดทะเบียน รวมไปถึงข้อจำกัดของที่ดิน ซึ่งสามารถใช้ตรวจสอบความถูกต้องของที่ดินและผู้ถือกรรมสิทธิ์ได้ ดังนั้นผู้ที่ต้องการจะซื้อ ขาย จำนำ จำนองที่ดิน ทุกคนจึงควรมีความรู้เกี่ยวกับรายละเอียดต่างๆ บนโฉนดที่ดิน เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดจากการทำนิติกรรมต่างๆ

วิธีการอ่านโฉนดที่ดิน

โฉนดด้านหน้า

1. ครุฑ: ครุฑในโฉนดนั้นมีหลายสี ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกถึงประเภทของเอกสารสิทธิ์ รวมไปถึงสิทธิ์ที่พึงจะมีในที่ดินแปลงดังกล่าว (คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดของสีครุฑที่แตกต่างกัน) (https://www.turbo.co.th/article/knowledge-deed)

2. ตำแหน่งที่ดิน: ประกอบด้วย เลขระวาง เลขที่ดิน หน้าสำรวจ ตำบล ที่ใช้ระบุตำแหน่งของที่ดินในโฉนด

3. โฉนดที่ดิน: ประกอบด้วย เลขที่โฉนดที่ใช้สำหรับทำนิติกรรมกับสำนักงานที่ดิน เลขเล่มคือเลขแฟ้มของสำนักงานที่ดินและอำเภอ จังหวัด ที่ตั้งของที่ดิน

4. ส่วนระบุผู้ครอบครองโฉนด: เป็นชื่อของผู้ครอบครองโฉนดคนแรก ในส่วนของผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์ปัจจุบันจะอยู่ด้านหลังของโฉนดที่ดิน

5. ส่วนระบุรายละเอียดแปลงที่ดิน: ใช้ระบุเนื้อที่ (ไร่-งาน-ตารางวา)

6. รูปแผนที่:

a. ตำแหน่งทิศ: ด้านบนของแผนที่ จะเป็นทิศเหนือ

b. มาตราส่วน: เทียบมาตราส่วนวัดระยะที่ดินจริง โดยสามารถใช้ไม้บรรทัดวัดได้ เช่น มาตราส่วน 1:4000 ใช้ไม้บรรทัดวัดได้ 12 มม. จะเท่ากับระยะจริง 48 เมตร

c. รูปที่ดิน: ลายเส้นแสดงขนาดตามอัตราส่วนในโฉนด จะมีตัวเลขตัวหนังสือหลักหมุดเขียนกำกับไว้ โดยตรงกลางจะมีเลขที่ดินข้างเคียง

7. วันที่ออกโฉนดและลายเซ็นเจ้าพนักงานที่ดิน: เป็นการระบุวันที่ ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินได้ออกเอกสารสิทธิ์ และลายเซ็นของเจ้าพนักงานที่ดิน

โฉนดด้านหลัง

8 สารบัญจดทะเบียน: เป็นส่วนที่บอกความเป็นมาของที่ดิน จากอดีตถึงปัจจุบันเช่นการเปลี่ยนโอนกรรมสิทธิ์ ภาระผูกพันที่ดิน เจ้าของที่ดินในปัจจุบัน ซึ่งการทำนิติกรรมใดๆ กับอสังหาริมทรัพย์นั้นกฎหมายระบุให้ต้องทำการจดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดิน หากไม่ทำการจดทะเบียนจะถือว่านิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ และทุกการเปลี่ยนแปลงต้องประทับตรารับรองพร้อมลายเซ็นเจ้าหน้าที่ทุกครั้ง